Thursday, October 4, 2012

สังคมไทยเลื่อนลอยไร้จุดหมาย

สังคมไทยเลื่อนลอยไร้จุดหมาย เหมือนเป็ดไก่ที่อยู่ในกรงในเข่ง เบียดกัน กระทบกับ เยียบย่ำกัน ทะเลาะกัน ตีกัน โดยไม่รู้เลยว่าที่สุดก็ไปสู่เขียงเดียวกัน

Tuesday, August 7, 2012

ดี-ไม่ดี ใช่อยู่ที่คิดเอา

คนเรามักชอบตัดสินผู้อื่นด้วยความคิดของตัวเอง  อะไรที่เราชอบก็ว่ามัน"ดี" อะไรที่เรารู้สึกไม่ชอบเกลียดไม่อยากดูไม่อยากเห็นก็ว่ามัน"ไม่ดี" ทุกอย่างตัดสินเอาเองหมด  ทั้งๆที่จริงๆแล้วเราไม่เคยศึกษาหาความจริงในสิ่งที่เรารู้สึก "ชอบ" หรือ "ไม่ชอบ" เลย

Tuesday, July 31, 2012

ปรับ LNBF ให้ได้ตำแหน่งอย่างเร็ว

มีโอกาสติดตั้งจานดาวเทียมปล่อย ซึ่งก็ไม่มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการติดตั้งเหมือนช่างอาชีพ เลยคิดวิธีติดตั้งให้หาสัญญาณได้เร็ว ซึ่งก็ได้ผลดีตามที่ต้องการ

ช่อง 3,5,7,9 ที่ส่งผ่านดาวเทียมมีการส่งสัญญาณ 4 แบบ
Thaicom5 C, Thaicom5 Ku (True),Thaicom5 Ku (DTV), Nss6 Ku(IPM)
ความละเอียดของภาพมากน้อย มีหลายปัจจัย ขนาด bandwidth ก็เป็นปัจจัยหนึ่ง
ขนาด BandWidth แต่ละแบบดังนี้
Thaicom5 C                  6-7 MHz
Thaicom5 Ku (True)     < 2 MHz
Thaicom5 Ku (DTV)      < 2 MHz
Nss6 Ku (IPM)              < 2 MHz

Saturday, July 28, 2012

จะเอาอะไรกับชีวิต

เกิดมาก็ดิ้นรนขวนขวาย อยากจะมีสิ่งที่อวดได้ อยากสนุกสนานให้เกินผู้อื่น อยากให้ผู้อื่นอิจฉา  แล้วมันคุ้มไหมกับการลงทุนไปทั้งหมดนั้น  แล้วสุดท้ายมันจะไปจบที่ใด

Friday, July 20, 2012

จุดหมายชีวิต

เคยหยุดคิดกันบ้างไหมว่าชีวิตเราแท้ๆจริงแล้วต้องการอะไร  หนทางที่เราอุตสาหะบุกฝ่ามานี้ด้วยความยากลำบากด้วยความอดทนต่อบุคคลแวดล้อม ทนหน้าด้านหน้าทนทำในสิ่งที่แม้ใจจริงก็ไม่อยากจะทำ

Wednesday, May 30, 2012

บางคนไม่รู้ว่าจะใช้ปากให้เกิดประโยชน์อย่างไร ความสุขของเขาอยู่ที่การได้ใช้ปากพูดแต่สิ่งที่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย

Thursday, March 22, 2012

สุขง่าย


การเที่ยวแสวงหาสิ่งต่างๆมาเพื่อทำให้ตนมีความสุข มันวุ่นวายต้องดิ้นรนมาก ถ้าเราพัฒนาตัวให้มีความสุขได้โดยไม่ต้องแสวงหาสิ่งต่างๆนอกตัวได้ จะทำให้ชีวิตสงบเย็นแท้

Thursday, January 12, 2012

กล้วยหิน


กล้วยหินมีชื่อสามัญว่า    Saba
ชื่อวิทยาศาสตร์       Musa (ABB group) หรือ "Kluai Hin "

กล้วยหินมีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณ สองฝั่งแม่น้ำปัตตานีในพื้นที่ ต.บาเจาะ อ.บันนังสตา จ.ยะลา
อดีตเป็นกล้วยป่าธรรมดาซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมีลักษณะทั่วไป
คือ ลำต้นสูง 3.5-5  เมตร โคนต้นวัดโดยรอบประมาณ 70 เซนติเมตร
กาบด้านนอกสีเขียวนวล ก้านใบค่อนข้างสั้น ร่องใบเปิด ปลีคล้ายดอกบัวตูม



ทำไมถึงชื่อ..."กล้วยหิน"?
         
                โดยทั่วไปแล้วการที่คนตั้งชื่ออะไรสักอย่าง มักจะมีที่มา หรือมีความหมาย  ที่ซ้อนเร้นอยู่ หลายคนวิเคราะห์ว่า เหตุที่ชื่อว่า “กล้วยหิน” เพราะกล้วยหินมีเนื้อแน่น เหนียวกว่ากล้วยอื่น ๆ แต่ผู้เฒ่าหลายคนบอกว่า กล้วยหินที่พบครั้งแรก มักจะขึ้นบริเวณกรวดหิน 2 ฝั่งลำแม่น้ำปัตตานี   ซึ่งกล้วยอื่นไม่ชอบขึ้น จึงเรียกกล้วยชนิดนี้ว่า กล้วยหิน สอดคล้องกับคำสัมภาษณ์  นายประพาส  เสริมคง  อายุ 70 ปี อยู่บ้านบันนังบูโบ  เลขที่ 8 หมู่ 3 ตำบลถ้ำทะลุ   อำเภอบันนังสตา  จังหวัดยะลา เป็นเกษตรกรทำสวนผลไม้ ในเนื้อที่ปลูก 20 กว่าไร่  โดยปลูกทุเรียน  ลองกอง  มังคุด   และแซมด้วยกล้วยหิน  ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในหมู่บ้านนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2497   ท่านเล่าให้ฟังว่า    เคยเห็นกล้วยหินที่มีใบใหญ่  หนา  และเขียว   มาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณปี  พ.ศ 2488   เจริญงอกงามดีในบริเวณหมู่บ้านเรือขุด  อำเภอบันนังสตา  จังหวัดยะลา ทางไปเขื่อนบางลางในปัจจุบัน     ซึ่งแต่เดิมบริเวณนี้เคยเป็นเหมืองร้าง   (เหมืองแร่ดีบุก)   มีลำธารสายใหญ่   หรือแม่น้ำปัตตานีไหลผ่าน  พื้นดินจึงมีสภาพเป็นกรวดหิน และดินลูกรัง  มีกล้วยชนิดนี้ขึ้นอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านเห็นว่ากล้วยชนิดนี้ สามารถขึ้นได้ดี ในสภาพกรวดหิน  จึงเรียกว่า “กล้วยหิน”  และเรียกชื่อนี้กันมาจนถึงปัจจุบัน...


ลักษณะของกล้วยหิน   
            กล้วยหิน  มีลักษณะคล้ายกล้วยน้ำว้า ต้นใหญ่ โคนต้นวัดโดยรอบประมาณ  70 เซนติเมตร   สูง 3.5 – 5 เมตร    กาบด้านนอกสีเขียวนวล   ก้านใบค่อนข้างสั้นร่อง ใบเปิด    ใบกว้าง   40 – 50  เซนติเมตร ยาว  1.5 เมตร ปลีรูปร่างค่อนข้างป้อมสั้น รูปร่างคล้ายดอกบัวตูม ด้านนอกของปลีเป็นสีแดงอมม่วง ด้านในสีแดง  เมื่อกาบเปิด จะไม่ม้วนงอ  กล้วยหินแต่ละต้นมีผล 1 เครือ โดยจะออกเครือเมื่อหน่ออายุประมาณ  8  เดือน  และเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ  12  เดือน  หรือหลังจากออกเครือ  ประมาณ 4 เดือน เครือหนึ่ง มี 7–10 หวี หวีหนึ่งมี  15 – 20 ผล    ผลเป็นรูปห้าเหลี่ยมเปลือกหนาค่อนข้างสมบูรณ์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 – 5 เซนติเมตร ยาว 8 – 12 เซนติเมตร  ผลดิบเปลือกสีเขียว เนื้อแข็ง  เมื่อสุกเปลือกสีเหลือง   เนื้อสีขาวอมเหลืองถึงเหลือง แน่นแข็ง  ไม่ยุ่ย    ปลายจุกป้าน เมื่อผลแก่จัดตัดมาเก็บไว้ได้นาน7 – 8 วัน การเรียง ตัวของผลเป็นระเบียบ มีช่องว่างเล็กน้อยอยู่ระหว่างหวีแต่ละหวี


ขณะนี้กรมวิชาการเกษตรได้มอบหมายให้สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 จ.สงขลา
ประสานความร่วมมือกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และจังหวัดยะลา
เร่งศึกษารายละเอียดและเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับกล้วยหินซึ่งเป็นพืชเฉพาะถิ่นของจังหวัดยะลา
เพื่อยื่นจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications: GI)
กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์
เพื่อพัฒนาระบบความคุ้มครองกล้วยหินช่วยป้องกันไม่ให้มีการแอบอ้างชื่อ
ทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ผู้ผลิตในท้องถิ่นเสริมสร้างและรักษาภาพลักษณ์สินค้ากล้วยหิน
พร้อมสนับสนุนและพัฒนาระบบการผลิตให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้น
ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านการค้าในอนาคต


"ปัจจุบันกล้วยหินเป็นพืชของดีของจังหวัดยะลา
เป็นสินค้าที่กำลังได้รับความนิยมจากผู้บริโภคและตลาดมีความต้องการมาก

ทำให้มีราคาสูง หวีละ 25-35 บาท ขึ้นอยู่กับคุณภาพ ขนาดผลและขนาดหวี
โดยเฉพาะช่วงฤดูฝนและช่วงปิดเทอมจะมีผลผลิตน้อย

ทำให้ราคากล้วยหินขยับตัวสูงขึ้นถึง 40-50 บาทต่อหวี
ซึ่งสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรและประชาชนในพื้นที่ จ.ยะลา หันมาปลูก
กล้วยหินเพิ่มมากขึ้น มีเนื้อที่รวมประมาณ 3,000 ไร่
นอกจากนี้ยังมีการนำกล้วยหินมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ
เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ปีละ 40-41 ล้านบาท"
อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกล่าว

ปัจจุบัน สวพ.8 ได้เร่งรวบรวมและจำแนกสายพันธุ์กล้วยหินซึ่งพบมีอยู่ประมาณ 4-5 สายพันธุ์
ทั้งยังพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตกล้วยหิน เพื่อเป็นแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้แก่เกษตรกร
อาทิ การไว้หน่อ การห่อผล และพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูป
ขณะเดียวกันยังได้นำหน่อพันธุ์กล้วยหินมาปลูกบนแปลงทดลอง
ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรปัตตานี ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพัทลุง
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนราธิวาส ศูนย์วิจัยพืชสวนยะลา
 และศูนย์วิจัยพืชไร่สงขลา รวม 30-40 ไร่ เพื่อขยายพันธุ์เพิ่มมากขึ้น


โดยกรมวิชาการเกษตรได้เตรียมแผนผลิตหน่อพันธุ์กล้วยหิน
เพื่อรองรับความต้องการของเกษตรกรและผู้สนใจที่จะนำไปปลูกด้วย
เนื่องจากขณะนี้หน่อพันธุ์ยังไม่เพียงพอกับความต้องการ
ทำให้มีราคาแพง มีการซื้อขายกันหน่อละ 30-50 บาท

นอกจากกล้วยหินจะเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคแล้ว
ยังเป็นที่นิยมมากในกลุ่มผู้เลี้ยงนกปรอดหัวโขน หรือนกกรงหัวจุกด้วย

โดยเฉพาะชาวไทยมุสลิมในพื้นที่ภาคใต้กว่า 1 แสนครัวเรือน
ได้มีการเลี้ยงนกกรงหัวจุกรวมไม่น้อยกว่า 2 แสนตัว นกตัวหนึ่วจะ

กินกล้วยหินวันละครึ่งผล รวม 1 แสนผลต่อวัน หรือประมาณ 10,000 หวีต่อวัน
ถือเป็นผลพลอยได้ที่ช่วยผลักดันให้กล้วยหินมีราคาเพิ่มสูงขึ้น
   
ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 จ.สงขลา
หรือ สวพ.8 กล่าวว่าภายในปี 2554 คาดว่าจะยื่นจดทะเบียนกล้วยหิน
เป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์กับกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้
หากได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ.2546

คาดว่าจะช่วยให้เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดยะลามีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายสินค้าที่เอกลักษณ์เฉพาะ ทั้งยังเกิดการพัฒนา

ระบบการผลิตและต่อยอดเศรษฐกิจในท้องถิ่น ตลอดจนผลักดันให้กล้วยหินเป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งก็ได้.


ข้อดี / ลักษณะเด่นของกล้วยหิน

       1. เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ดินร่วนเหนียว ดินที่เป็นลูกรัง หรือดินกรวดหิน
       2. แตกกอเร็ว ปลูกครั้งเดียวเก็บเกี่ยวได้นาน เพราะกอหนึ่งมีหลายต้น
       3. ลำต้นใหญ่ แข็งแรง ไม่ค่อยมีโรค แมลงระบาด จึงไม่ต้องใช้สารเคมีป้องกันศัตรูพืชแต่อย่างใด
       4. ผลของกล้วยหินมีเปลือกหนา จึงมีความบอบช้ำต่อการขนส่งน้อยกว่า
        5. ผลแก่เก็บได้นาน 7 – 8 วัน ก็ยังไม่เน่าเสีย
        6. ใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกส่วน ตั้งแต่รากจนถึงปลีและผลโดยเฉพาะผลมีรสชาดอร่อย แปรรูปได้หลายอย่าง
        7. ปลูกแซมในสวนผลไม้ เป็นร่มเงาได้ดีมาก ทำให้สวนผลไม้มีความชื้น ต้นไม้ผลที่เริ่มปลูกใหม่เจริญเติบโตได้ดีมากขึ้น
        8. ทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี 


อายุการเก็บเกี่ยว
                  หลังปลูกกล้วยหินประมาณ  8  เดือน  ก็จะเริ่มออกปลี  และจะเก็บเกี่ยวได้หลังออกปลีประมาณ  3-4  เดือน